ISO 17025 คืออะไร?

25435 จำนวนผู้เข้าชม  | 


ISO 17025 คืออะไร?

ISO 17025 คืออะไร?

เคยสงสัยกันไหมครับ ว่า ISO 17025 คืออะไร? และ มีประโยชน์อย่างไร?

ทำไมโรงงานใหญ่หลายๆโรงงานถึงให้ความสำคัญกับ ISO 17025 กันมากขึ้น ?

วันนี้เรามีคำตอบ ISO 17025 หรือมาตรฐานสากล ISO/IEC 17025 คืออะไรและมีประโยชน์อย่างไร ?

เราจะสรุปง่ายๆให้เห็นภาพนะครับ ISO/IEC 17025 คือ มาตรฐานของห้องปฏิบัติการสอบเทียบ ซึ่งทางห้องปฏิบัติการ (LAB) จะสอบเทียบตามมาตรฐานทั้งทางภาคทฤษฎี และ ภาคปฏิบัติเพื่อตรวจสอบว่าเครื่องมือยังอยู่ในมาตรฐานและคุณภาพตามมาตรฐานสากลอยู่หรือไม่  สิ่งที่เราจะได้รับจากการส่งสอบเทียบทุกครั้ง คือลูกค้าจะได้รับเครื่องมือ พร้อมเอกสารสอบเทียบ และสามารถใช้งานเครื่องมือนั้น ได้อย่างถูกต้องและแม่นยำ

ซึ่งเอกสารสอบเทียบนี้ จะบอกถึงมาตรฐานของเครื่องมือ ว่ายังได้คุณภาพอยู่ไหม “มีค่าความคลาดเคลื่อนบ้างหรือเปล่า” ผู้ที่ใช้เครื่องมือทุกวัน อาจจะไม่ได้นำเครื่องมือไปตรวจเช็คที่แลป การที่เรานำเครื่องมือของเราส่งเข้าห้องแลป (ห้องปฏิบัติการสอบเทียบ) ก็เหมือนนำเครื่องมือไปตรวจเช็คคุณภาพว่ายังแม่นยำและถูกต้องอยู่หรือเปล่า “บางทีส่งปีละครั้ง หรือ สองปีครั้งก็ได้นะ“

ช่วงสาระมีอยู่จริง

ISO 17025 เป็นมาตรฐานที่จัดทำร่วมกันระหว่าง ISO (The International Organization for Standardization) และ IEC (The International Electro Technical Commission) เป็นมาตรฐานสำหรับห้องปฏิบัติการสอบเทียบ ซึ่งเป็นหน่วยงานที่ทำหน้าที่ในการถ่ายทอดค่าความถูกต้องจากหน่วยมูลฐาน (SI Unit) ไปยังเครื่องมือวัด หรือ อุปกรณ์ภายในโรงงาน ของผู้ใช้งานทั่วไป โดยมาตรฐานสากล ISO/IEC 17025 เป็นมาตรฐานเกี่ยวกับข้อกำหนดว่าด้วยความสามารถของห้องปฏิบัติการทดสอบและห้องปฏิบัติการสอบเทียบ

ข้อกำหนด ดังกล่าวจะระบุถึงระบบคุณภาพ ข้อกำหนดทางด้านการบริหาร และข้อกำหนดทางด้านวิชาการ ซึ่งครอบคลุมถึงปัจจัยต่าง ๆ ที่มีผลต่อคุณภาพในการดำเนินการทดสอบและสอบเทียบ ห้องปฏิบัติการที่ผ่านการรับรองความสามารถตามมาตรฐานสากล ISO/IEC 17025 จะเป็นที่ยอมรับในตลาดสินค่าของนานาชาติด้วย มีคำกล่าวไว้ว่า “มาตรฐานเดียว ตรวจครั้งเดียว ยอมรับทั่วโลก (One Standard One Test Accepted Everywhere)” ด้วยเหตุนี้ผู้ผลิตที่ส่งสินค้าออกไปจำหน่ายต่างประเทศ ถ้ามีใบรายงานผลการทดสอบ (ตรวจวิเคราะห์) สินค้าจากห้องปฏิบัติการฯ ที่ผ่านการรับรองตามมาตรฐานสากล ISO/IEC 17025 แล้ว ไม่จำเป็นต้องถูกทดสอบ (ตรวจวิเคราะห์) สินค้าในประเทศคู่ค้าซ้ำอีก ส่งผลให้สามารถลดค่าใช้จ่ายของทั้งผู้ส่งออกและผู้นำเข้าได้เป็นอย่างดี

การ “คาลิเบรท” คืออะไร

หากพูดถึงคำว่า “คาลิเบรท” หรือ “สอบเทียบ” คำสองคำนี้มักจะใช้กันในวงการโรงงานอุตสาหกรรม, การผลิต, การวัดด้วยเครื่องมือวัดต่าง ๆ หรือแม้แต่ในอุปกรณ์ เครื่องชั่งอิเล็กโทรนิคต่าง ๆ ก็มักจะพบเห็นคำว่า คาลิเบรท อยู่เป็นประจำ อย่างไรก็ตามก็ยังมีบางท่านสงสัย หรือ ยังอาจมีความเข้าใจไม่ตรงกันในคำว่าคาลิเบรท ระหว่างผู้ใช้งาน, เจ้าหน้าที่ฝ่ายขาย หรือ ฝ่ายจัดซื้อ ที่จำเป็นหรือต้องเกี่ยวข้องกับคำ ๆ นี้ ในบทความนี้จึงอยากขอขยายความ เพื่อช่วยให้ผู้อ่านทุกท่านได้เข้าใจเป็นแบบเดียวกับ เพื่อช่วยให้สื่อสาร และ ทำงานกันได้อย่างมีประสิทธิภาพมากขึ้น

สำหรับ เครื่องมือวัดทางไฟฟ้า นั้น ประกอบด้วย 4 กลุ่มหลักใหญ่ คือ กลุ่มเครื่องมือทดสอบแบบอัตโนมัติ (automatic test equipment), กลุ่มเครื่องบันทึกข้อมูล (data recording equipment), กลุ่มเครื่องมือวัดทางด้านไฟฟ้า (electronic measuring instruments) และ กลุ่มเครื่องมือวัดภาพสนาม (field measuring instruments) ซึ่งจะถูกใช้งานอย่างกว้างขวางในทุกรูปแบบของลักษณะงานทางอุตสาหกรรม การคาลิเบรทจึงนับได้ว่าเป็นส่วนสำคัญ ที่จะทำให้ได้มาซึ่ง ความแม่นยำ และ ผลลัพธ์ในการวัดที่น่าเชื่อถือ

และนี้คือ 3 คำถามที่พบ หรือ มักจะถูกถามกันบ่อย ๆ เกี่ยวกับการคาลิเบรท?

Q: เราจะทราบจุดที่ต้องใช้สอบเทียบได้อย่างไร?
(How did you determine the calibration points ?)

A: ทางผู้ตรวจสอบ (Audit จะเป็นผู้กำหนด) หรือ ผู้ใช้งานกำหนดจากจุดใช้งานจริงได้เลย

Q: เราจะทราบเวลาที่จะต้องนำอุปกรณ์ไปสอบเทียบอีกครั้งได้อย่างไร?
(How did you determine the calibration period ?)

A: ทางผู้ตรวจสอบ (Audit จะเป็นผู้กำหนด) หรือ ผู้ใช้งานกำหนด โดยส่วนใหญ่ ระยะเวลาเป็นพื้นฐานไว้อยู่ที่ทุก ๆ 1 ปี หรือแล้วแต่ทางข้อกำหนดของโรงงานนั้น ๆ

Q: อะไรคือข้อดีของการคาลิเบรทตามมาตรฐาน ISO/IEC17025
(What is the advantage of ISO/IEC 17025 calibration ?)

A: ISO/IEC17025 คือมาตรฐานสากล สำหรับการสอบเทียบ หรือ คาลิเบรท ดังนั้น ค่าจากการคาลิเบรทที่ได้ระบุไว้ในใบ Certificate ที่มาจากการคาลิเบรทตามมาตรฐานจะได้รับการยืนยันอย่างเป็นทางการตามหลักสากล ซึ่งจะเป็นประโยชน์ในการช่วยลดข้อเสียเปรียบในการขายสินค้า และ เพิ่มความน่าเชื่อถือในตัวผลิตภัณฑ์ให้สูงขึ้น รวมถึงช่วยให้เราสามารถเข้าถึงการซื้อขายในระบบของราชการ, ทางภาครัฐ หรือ งานที่ต้องการการเทียบสเปคสินค้าได้ง่ายขึ้น

สรุปเกี่ยวกับการคาลิเบรท

สำหรับในประเทศไทยนั้น โดยส่วนใหญ่ความต้องการใบ Certificate ของสินค้านั้นจะเป็นประเด็นที่พบบ่อยครั้ง โดยลูกค้าจะต้องการสินค้าที่มีใบ Certificate มาด้วยในครั้งแรกที่ซื้อ ซึ่งในบางครั้ง เอกสารชิ้นนั้น เป็นเพียงแค่เอกสารยืนยันว่าเครื่องได้ผ่านการตรวจสอบจากทางโรงงาน จึงทำให้เป็นการเสียเวลาที่ต้องนำเครื่องกลับมาคาลิเบรทเพื่อรับเอกสารคาลิเบรทจากห้องทดลองอีกครั้ง ทางแก้ก็คือ การสอบถามเจ้าหน้าที่ฝ่ายขายให้ชัดเจนเรื่องเอกสารการคาลิเบรท หรือ ระบุจุดประสงค์ว่าต้องการให้คาลิเบรทสินค้านั้นเลยเพื่อความสะดวกรวดเร็ว

หลังจากอ่านบทความนี้ ทางเราคิดว่า ผู้อ่านจะมีความเข้าใจเพิ่มขึ้นเกี่ยวกับคำว่าคาลิเบรท และ สามารถนำคำตอบตรงนี้ไปใช้เพื่อเป็นการวางแผนจัดเตรียมอุปกรณ์ หรือ สินค้า สำหรับการคาลิเบรท ได้อย่างถูกต้อง

Powered by MakeWebEasy.com
เว็บไซต์นี้มีการใช้งานคุกกี้ เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพและประสบการณ์ที่ดีในการใช้งานเว็บไซต์ของท่าน ท่านสามารถอ่านรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว  และ  นโยบายคุกกี้